วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

น้ำดื่มสมุนไพร

น้ำดื่มสมุนไพร



   
       
         กินอยู่อย่างไทย ตามแบบภูมิปัญญาไทยเพื่อบำรุงสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรหรือผักผลไม้ที่หาได้ไม่ยากในวิถีชีวิตแบบ ไทย ๆ นำมาปรุงแต่งให้เป็นเครื่องดื่ม โดยยังคงคุณค่าตัวยาในการส่งเสริมสุขภาพหรือรักษาโรคไว้เช่นเดิม น้ำดื่ม สมุนไพ คือส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย พร้อมกับพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรเพื่อให้ยั่งยืนคู่สังคมไทย และสภาพแวดล้อมไทย ๆ ต่อไป

น้ำมะละกอ  


     สรรพคุณ
             ช่วยย่อยอาหารระบายท้อง แก้ท้องผูก
     วิธีทำ
             นำมะละกอสุกมาปอกเปลือก ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงไปในเครื่องปั่น ใส่น้ำตาลทรายแดงและเกลือป่น นิดหน่อย ใส่น้ำแข็ง ปั่นให้ละเอียด ดื่มได้เลย





  น้ำส้มจี๊ด  

      สรรพคุณ
            แก้ไข ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ ลดความกระหายน้ำ ชุ่มชื่มคอ
       วิธีทำ
             นำผลส้มจี๊ดที่แก่จัดแต่ยังไม่สุก นำไปล้างน้ำให้สะอาด ผ่าออกแล้วบีบเอาแต่น้ำปั่นกับน้ำต้มสุก เติมน้ำเชื่อม และ เกลือป่นชิมรสตามต้องการ ใส่น้ำแข็งรับประทาน

  น้ำขิง   

       สรรพคุณ
               แก้ท้องเฟ้อ ท้องอืด ทำให้เจริญอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลมได้ด้วย
       วิธีทำ
               นำขิงแก่มาล้างให้สะอาด แล้วทุบให้แตกใส่หม้อต้มกับน้ำสะอาด ปล่อยให้เดือดและเคี่ยวไปสักพัก จนขิงละลายน้ำเห็น เป็นสีเหลืองอ่อน เคี่ยวต่อไปอีกสัก 15 นาที ก็ยกลงแล้วใส่น้ำตาลทรายแดงลงไป คนให้เข้ากัน ใช้ดื่มร้อน ๆ ก็แจ่มใส หรือจะใส่น้ำแข็งดื่มก็ชื่นใจ

  น้ำตะไคร้   

      สรรพคุณ
            แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ   
       วิธีทำ
             ใช้ตะไคร้ทั้งราก และใบมาล้างทำความสะอาด เสร็จแล้วเอามาทุบให้แตกและตัดเป็นท่อน ๆ ใส่ลงไปในหม้อน้ำ ต้มจนเดือด และเครี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ จนเห็นน้ำตะไคร้ออกมาปนกับน้ำเป็นสีเขียวอ่อน ๆ ใส่เกลือลงไปและเคี่ยวต่อไป อีกสักพักจึงยกลงและนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง เสร็จแล้วนำแต่น้ำตะไคร้ต้มต่อไปอีก ใส่น้ำตาลทรายแดงและเคี่ยว ต่อจนน้ำทรายละลาย ยกลงและใส่น้ำแข็งรับประทานได้

 น้ำหญ้าหนวดแมว  

       สรรพคุณ
            ลดอาการปวดเมื่อย รักษาโรคไต ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
      วิธีทำ
            นำหญ้าหนวดแมวมาล้างทำ ความสะอาด สับเป็นท่อนทั้ง ต้น ใบ ดอก รวมกันตากให้แห้งเสร็จแล้วเอาไปคั่ว เวลาจะรับ ประทานก็นำมาต้มจนเดือดเพื่อให้คุณค่าในหญ้าหนวดแมวออกมา เสร็จแล้วใช้ดื่มเป็นน้ำชาอุ่น ๆ

 น้ำชะพลู  

       สรรพคุณ
               แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม
       วิธีทำ
             นำรากกับต้นชะพลูมาล้างให้สะอาด เอามาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง เสร็จแล้วเอามาต้มกับน้ำตามสัดส่วนที่ ต้องการต้มและเคี่ยมจนน้ำงวดลง ก็เอาไปดื่มเป็นน้ำสมุนไพรได้

 น้ำสับปะรด  

       สรรพคุณ
              ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ
       วิธีทำ
นำเนื้อสับปะรดมาหั่นเป็นชิ้น ๆ ใส่ลงในเครื่องปั่น ใส่น้ำตาลทรายแดง เกลือป่นน้ำแข็งทุบ เสร็จแล้วปั่นให้ละเอียด เทใส่แก้วรับประทานได้เลย


 น้ำมะระขี้นก  

        สรรพคุณ
              เป็นยาเจริญอาหาร และแก้โรคเบาหวาน
      วิธีทำ
              นำมะระขี้นกมาล้างให้สะอาด ผ่าซีกเอาเมล็ดออกไปให้หมด หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ นำไปตากให้แห้งสนิท เวลารับประทานให้ นำไปต้มน้ำเดือด ปล่อยให้ตัวยาละลายออกมา ใช้ดื่มเป็นชาได้อย่างวิเศษ (หากกลัวรับประทานยากเพราะขม มีวิธีแก้คือ เอาใบเตยหอมมาหั่นเป็นท่อนตากแห้ง แล้วเอามาคั่วให้เหลืองกรอบ จึงนำไปชงพร้อมกับมะระ จะกลบความขมของมะระขี้นกได้

น้ำองุ่น

      สรรพคุณ
            แก้กระหายน้ำ รักษาโรคหนองใส ปัสสาวะขัด เจ็บ
      วิธีทำ
            ใช้องุ่นม่วง ล้างให้สะอาดแช่น้ำไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง นำขึ้นมาให้สะเด็ดน้ำผ่าครึ่ง เอาเมล็ดออก นำเนื้อองุ่นไปต้มและ เคี่ยวให้เปื่อย กรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำตาลเกลือป่น ตั้งไฟต้มจนน้ำตาลทรายละลายเป็นใช้ได้ ใส่น้ำแข็งรับประทานชื่นใจ

  น้ำแคนตาลูป  

       สรรพคุณ
              บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ ขับน้ำนม บำรุงหัวใจ สมอง แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ แก้กระหาย ดับพิษร้อน
       วิธีทำ
               นำแคนตาลูปสุกหั่นเป็นชิ้นใส่เครื่องปั่น โดยใส่น้ำต้มสุกลงไปด้วย ใส่น้ำเชื่อม เกลือและน้ำแข็ง ใส่และปั่น ดื่มเย็นใจ

น้ำมะระจีน 

       สรรพคุณ
             แก้ตับ ม้ามพิการ บำรุงน้ำดี ขับพยาธิ แก้ปวดตามข้อตามเข่า
       วิธีทำ
              ให้มะระจีนผลใหญ่ ล้างให้สะอาด เอาไส้และเมล็ดออก หั่นเอาแต่เนื้อใส่เครื่องปั่นเติมน้ำสุก ปั่นให้ละเอียด กรองเอา แต่น้ำแล้วเติมน้ำเชื่อม เกลือป่น ชิมรสตามต้องการ เวลาดื่มใส่น้ำแข็งบด ดื่มแล้วชื่นใจ

ที่มา  http://www.ku.ac.th/e-magazine/june44/know/water.html
 

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กล้วยไม้สายพันธุ์ต่างๆ


                                            กล้วยไม้สกุลช้าง   
       การให้ปุ๋ยกล้วยไม้สกุลช้าง 
       ปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้สกุลช้างนั้น เราจะเน้นสูตรเสมอเป็นหลัก โดยจะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 18-18-18 ,20-20-20,21-21-21 + ยาเร่งราก เช่น วิตามินB1 ฉีดพ่น อาทิตย์ละ 1 ครั้ง สลับกับ ปุ๋ย เร่งดอก สำหรับกล้วยไม้สกุลช้าง เราจะใช้ 16-21-27,13-27-27,9-27-34 +ยาเร่งรากเช่นวิตามิน B1พ่นสลับ โดยจะฉีดพ่นปุ๋ยสูตรเสมอ 2-3 ครั้ง สลับกับ ปุ๋ยเร่งดอก 1 ครั้ง วนไปเรื่อยๆ จนถึงเดือนกันยายน ให้ ปุ๋ย เร่งดอก สูตร 10-52-17 สัก 2 ครั้งติดๆกัน อาทิตย์ เพื่อเป็นการกระตุ้นและเตรียมพร้อมให้กล้วยไม้สกุลช้าง ให้ดอกเราในเดือนพฤศจิกายน แล้วให้ปุ๋ยสูตร 16-21-27,13-27-27,9-27-34 ตามอีกสัก 2 ครั้ง แล้วมาเริ่ม ใส่ ปุ๋ยสูตรเสมอ วนสลับกับปุ๋ยสูตร 16-21-27,13-27-27,9-27-34 ตามเดิม แค่นี้กล้วยไม้สกุลช้างก็จะออกดอก ที่สวยงามมาชมกันทุกปี

  กล้วยไม้สกุลแคทลียา   

       แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางในหลายประเทศเนื่องจากแคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกขนาดใหญ่ที่สุดและสีสวยงามที่สุด บางชนิดมีกลิ่นหอมและถือกันว่าแคทลียาเป็น ราชินีแห่งกล้วยไม้ และเป็นสัญญลักษณ์สากลของกล้วยไม้ทั่วไปแคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ตอนเหนือเป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตและมีรูปทรงแบบซิมโพเดี้ยล คือมีเหง้าแนบไปตามเครื่องปลูกเหง้าอาจจะมีทั้งยาวและสั้น มีรากงอกเจริญจากเหง้า ไม่มีรากแขนงเป็นระบบรากกึ่งอากาศดูดอาหารจากอากาศและเครื่องปลูก แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วย มีหลายลักษณะบางชนิดลำลูกกล้วยเป็นข้อปล้อง รูปทรงของลำป่องตรงกลางหรือค่อนไปข้างบนของลำเล็กน้อยมีหน้าที่เก็บสะสมอาหาร เหนือข้อที่โคนลำจะมีตา 2 ตา คือตาซ้าย และตาขวา เป็นตาแตกลำใหม่ง่ายที่สุดบางชนิดที่ลำลูกกล้วยอ้วนป้อม บางชนิดเป็นรูปทรงกระบอกหรือบิดเป็นเกลียวเล็กน้อยผิวพื้นของลำอาจเกลี้ยงหรือเป็นร่องตามความยาวของลำ เมื่อกล้วยไม้เจริญเติบโต ลำที่ 1 หรือเรียกว่าลำหลัง จะแตกตาออกแล้วเจริญเป็นลำที่ 2 หรือเรียกว่าลำหน้า เมื่อลำที่ เจริญดีแล้วก็จะแตกตาออกเป็นลำที่ 3 และที่ 4 ออกไปเรื่อยๆ บางครั้งตาแตกออกเป็น 2 ทางเรียกว่า ไม้ หน้า จึงทำให้ดูเป็นกอใหญ่ โดยมีเหง้าเป็นส่วนที่เชื่อมโยงของลำลูกกล้วยลำต่อลำและเป็นส่วนของลำที่เจริญออกจากลำเดิม



กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซีส

      กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส ปลูกเลี้ยงกันในประเทศไทยมานานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีผู้สนใจมากนักเนื่องจากดอกมีขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลนี้กำลังเป็นที่สนใจของผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั่วไป ทั้งนี้ก็เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ได้ถูกปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนทำให้สวยงามทั้งรูปทรงดอกและสีของดอก ดอกกลมใหญ่ กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง ก้านช่อยาว เหมาะสำหรับปักแจกัน ต้นหนึ่งออกดอกได้หลายช่อ แต่ละพันธุ์ออกดอกต่างเดือนกัน บางชนิดออกดอกในเดือนที่ตลาดต้องการดอกไม้ตัดดอก จึงทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ตัดดอกสนใจการเลี้ยงกล้วยไม้สกุลนี้มากขึ้นกล้วยไม้ฟาแลนอปซีส มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ชวา สุมาตรา มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลนี้อยู่ 2-3 ชนิด เช่น เขากวาง กาตาฉ่อ ขนาดของดอกมีใหญ่และเล็กตามลักษณะของพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันอยู่ในขณะนี้เป็นพันธุ์ลูกผสม ที่มีการปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนดอกกลมใหญ่ ลักษณะของลำต้นทรงเตี้ยตรง การเจริญเติบโตเป็นแบบโมโนโพเดี้ยล ใบอวบน้ำ ค่อนข้างหนาแผ่แบนรูปคล้ายใบพาย ดอกกลมใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ 5-8 ซม. กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง มองดูดอกแล้วงาม ทั้งฟอร์มดอกและสี ก้านช่อยาว บางช่อยาวถึง 80 ซม. ช่อหนึ่งมีหลายดอก เรียงไปตามก้านช่ออย่างมีระเบียบ บางต้นแยกออกเป็นหลายช่อ ดอกบานทน ถ้าบานอยู่กับต้นสามารถบานอยู่ได้นานเป็นเดือน เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายสามารถเจริญงอกงามและออกดอกให้ได้ดีในสภาพสิ่งแวด ล้อมต่างๆ กัน นอกจากนี้ยังสามารถผสมข้ามสกุลกับสกุลกล้วยไม้สกุลต่างๆ ได้หลายสกุล เช่น ผสมกับสกุลแวนด้า ผสมกับสกุลอะแรคนิส ผสมกับสกุลเรแนนเทอร่า เป็นต้น
การปลูกกล้วยไม้ฟาแลนอปซีส

       การปลูกกล้วยไม้ฟาแลนอปซีส ลงกระถางหรือกระเช้าไม้ ควรตั้งต้นกล้วยไม้ตรงกลางให้โคนต้นส่วนเหนือรากอยู่ต่ำกว่าระดับขอบภาชนะ ปลูกเล็กน้อย การวางต้นกล้วยไม้สูงเกินไปจะทำให้รากกล้วยไม้ได้รับความชื้นไม่เพียงพอ แต่ถ้าปลูกต่ำเกินไปกล้วยไม้ก็จะอยู่ในสภาพที่ชื้นหรือแฉะเกินไป การใส่เครื่องปลูกควรใส่แค่กลบรากเท่านั้น อย่าใส่เครื่องปลูกมากเกินไปจนกระทั่งสูงขึ้นมากลบส่วนของส่วนโคนต้นเพราะ อาจจะทำให้โคนต้นแฉะและโคนใบเน่าได้ การปลูกควรปลูกก่อนเข้าฤดูฝนคือประมาณเดือนมีนาคม ถ้าปลูกในฤดูฝนอากาศมีความชื้นสูงและกล้วยไม้กำลังอวบน้ำ อาจทำให้ใบและยอดเน่าได้

                                            กล้วยไม้สกุลหวาย


       กล้วยไม้สกุลหวายนับว่าเป็นสกุลที่ใหญ่ทีสุด เนื่องจากมีอยู่ตามธรรมชาติมากมาย หลายชนิดกว่ากล้วยไม้สกุลอื่น ๆ ซึ่งมีรูปร่างลักษณะทั้งดอก ใบ และลำลูกกล้วยไม้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวางเป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญ เติบโตและรูปทรงแบบแตกกอ คือ เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำใหม่และเป็นกอ   ลักษณะ ทั่ว ๆ ไปของดอก กลีบนอกบนและกลีบนอกคู่ล่างมีความยาวไล่เลี่ยกัน กล้วยไม้สกุลหวายมีอยู่ตามธรรมชาติมากมายหลายชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ป่าของไทย ซึ่งเรียกว่าเอื้อง ก็จะอยู่ในสกุลหวาย แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเฉพาะหวายซึ่งเป็นกล้วยไม้ป่าของไทยกับหวายต่าง ประเทศบางชนิด ที่มีความสำคัญในด้านการตัดดอกเท่านั้น เช่น หวายมาดามปอมปาดัวร์ หวายซีซ่าร์ เอื้องผึ้ง เอื้องมอนไข่ เหลืองจันทบูร เป็นต้น

กล้วยไม้สกุลแวนด้า

      แวน ด้าเป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ ใบมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบซ้อนสลับกัน ช่อดอกจะออกด้านข้างของลำต้นสลับกับใบ ช่อดอกยาวและแข็ง กลีบนอกและกลีบในมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน โคนกลีบแคบ และไปรวมกันที่โคนเส้าเกสร กลีบดอกในล่างด้านใต้มีเดือยแหลมยื่นออกมาเป็นส่วนท้ายของปากกระเป๋า ปากกระเป๋าของแวนด้าเป็นแบบธรรมดาแบนเป็นแผ่นหนาแข็ง และพุ่งออกด้านหน้า รูปลักษณะคล้ายช้อน หูกระเป๋าทั้งสองข้างแข็งและตั้งขึ้น สีดอกมีมากมายแตกต่างกันตามแต่ละชนิดกล้วย ไม้สกุลแวนด้าพบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40 ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเซีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์ แวนด้าได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของแวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น 4 ประเภท คือ
        แวนด้าใบกลม มีลักษณะของใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง สังเกตได้ที่ใบติดอยู่ห่างๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก แต่ดอกจะบานติดต้นอยู่คราวละ 2–3 ดอกเท่านั้น เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น ดอกข้างล่างจะโรยไล่กันขึ้นไปเรื่อยๆ การปลูกใช้ดอกจึงนิยมปลิดดอกมากกว่าตัดดอกทั้งช่อ
        แวนด้าใบแบน ลักษณะใบแผ่แบนออก ถ้าตัดมาดูหน้าตัดจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน ปลายใบโค้งลงและจักเป็นแฉก
        แวนด้าใบร่อง มีรูปทรงของใบและลำต้นคล้ายใบแบนมากกว่าใบกลม แวนด้าประเภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งสิ้น โดยนำแวนด้าใบกลมมาผสมกับแวนด้าใบแบน
         แวนด้าก้างปลา มีรูปทรงของใบและลำต้น กิ่งใบกลมกับใบแบน พบตามป่าธรรมชาติน้อยมาก เพราะกล้วยไม้พันธุ์นี้เป็นหมันทั้งสิ้น
       ในบรรดาแวนด้าทั้ง 4 ประเภทนี้ แวนด้าใบกลมเป็นแวนด้าที่เลี้ยงง่ายที่สุด สามารถปลูกลงแปลงกลางแจ้งได้โดยไม่ต้องมีโรงเรือน แต่ดอกมักจะบานไม่ทน ส่วนที่เลี้ยงยากที่สุดคือ แวนด้าใบแบน มีหลายพันธุ์ ทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ ฟ้ามุ่ย เพราะดอกใหญ่ สีสวย การเลี้ยงแวนด้าใบแบนจำเป็นต้องมีโรงเรือนเพราะต้องการแสงที่พอเหมาะ สำหรับแวนด้าใบร่องเป็นลูกผสมระหว่างใบกลมและใบแบน ถูกผสมขึ้นเพื่อให้ปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น แต่ดอกมักจะสีไม่สวยและปากหักง่าย

กล้วยไม้ลูกผสมไม้ไทย
       กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
      แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกา ใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วย ไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา











กล้วยไม้รองเท้านารี

       กล้วยไม้รองเท้านารี  เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซียอันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่าง คล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
        กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้า เน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง  รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้นที่แท้จริงเรียกว่า ไรโซม (เหง้า) ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น รากออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมาก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย ใบมีขนาดรูปร่างต่างกันไป บางชนิดมีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น บางชนิดใบมีลาย บางชนิดใบไม่มีลายแต่เป็นสีเดียวเรียบๆ การออกดอกจะออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมีขนาดใหญ่สะดุดตา ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกันและมีขนาดเล็กลงจนส่วนปากบังมิดหรือ เกือบมิด กลีบคู่ในซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน
กางออกไปทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาของดอก ส่วนกลีบในกลีบที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น “กระเปาะ” คล้ายรูปรองเท้า กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสร ตัวเมีย กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผุ้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤษศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า “สตามิโนด” สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2ข้างของเส้าเกสรข้างละ 1 ชุด ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับ เส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้ใหม่ได้

กลัวยไม้ดิน

       กล้วยไม้ดินหลายชนิดมีดอกขนาดใหญ่สวยงาม โดยแสดงลักษณะเด่นของความเป็นได้กระจ่างชัดเจนมากจากหนึ่งในสามของกลีบดอกที่ได้วิวัฒน์ตัวเองให้แปลงรูปไปเป็นกลีบปาก หรือกลีบกระเป๋าเพื่อเอื้อต่อการผสมเกสร หากมองลักษณะต้นและใบ โดยไม่เห็นดอกนั้นก็ยากที่จะจำแนกออกมาว่าพวกเขาเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์กล้วยไม้



สกุลออนซิเดียม

       กล้วยไม้สกุลออนซิเดียมมีรูปทรงของต้นทั้งที่เป็นแบบมีลำลูกกล้วย และไม่มีลำลูกกล้วย ต้นมีแต่ลำต้นเล็กๆ สั้นๆ และมีกาบใบหุ้มจนมิด ส่วนของยอดลำต้นสั้นๆ จะมีใบขนาดใหญ่มากติดอยู่ 1-3 ใบ บางชนิดใบนี้มีขนาดใหญ่หนา บางชนิดใบกลมยาว ดอกส่วนมากจะมีสีเหลืองหรือมีพื้นสีเหลืองลายสีน้ำตาล สีแดง สีขาวหรือสีชมพู เส้าเกสรมีปีกยื่นออกไปทั้ง 2 ข้าง มีตุ่มที่โคนปาก ปลายปากใหญ่และเป็นจุดเด่นของดอก กล้วยไม้สกุลออนซิเดียมมีถิ่นกำเนิดในอเมริกา และได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ชื่นชอบเลี้ยงกล้วยไม้ในทวีปอเมริการวมไปถึงในแถบอเมริกาใต้ ในธรรมชาติพบแล้วหลายร้อยชนิดและมีลูกผสมออนซิเดียมอีกมากกว่า 1,000 ชนิด ด้วยลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะของออนซิเดียม ยังมีกล้วยไม้อีกหลายสกุลที่จัดอยู่ในกลุ่มออนซิเดียมหรือสกุลใกล้เคียงกับออนซิเดียม

ที่มา   http://www.suttidaorchid.com/